บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิบุคคล
ผู้เช่ามีหน้าที่หักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่าย
กรณีเช่ารถยนต์ที่มีการส่งมอบการครอบครองรถยนต์
(ใช้รถยนต์ได้ตลอดเวลา) ถือเป็นการเช่า ผู้เช่ารถ มีหน้าที่หัก
ณ ที่จ่าย 5% ผู้ให้เช่า
กรณีเช่ารถยนต์ที่ไม่มีการส่งมอบการครอบครองรถยนต์
(มีกำหนดระยะเวลาการใช้รถยนต์) ถือเป็นการใช้บริการ มีหน้าที่ หัก
ภาษี ณ ที่จ่าย 3 %
ตัวอย่าง บริษัท ฯ ทำสัญญาเช่ารถยนต์ (Car rent, Car rental) เดือนละ 10,000 บาท เมื่อจ่ายเงินค่าเช่า บริษัท ฯ ต้องคำนวณหัก ภาษี ณ
ที่จ่าย 5 % (10,000 *5%) จำนวน 800 บาท
พร้อมออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ
ที่จ่ายมอบให้ผู้รับเงินทุกครั้งที่มีการจ่ายเงิน
การนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภายใน 7 วันนับของเดือนถัดไป
ภงด.3 หัก ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดา
ภงด.53 หัก ณ ที่จ่ายนิติบุคคล
ค่าปรับนำส่งภาษีเงินได้
หัก ณ ที่จ่าย ภงด.3 ภงด.53 ล้าช้า
นำส่งภายใน 7 วัน ค่าปรับ 100
บาท
นำส่งเกิน 7 วัน ค่าปรับ
200 บาท
เงินเพิ่มอีก 1.5% ของภาษีที่ต้องชำระ X
จำนวนเดือนที่ชำระล่าช้า
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ VS ภาษีมูลค่าเพิ่ม VS ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ค่าเช่ารถทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มี
ที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
ค่าเช่ารถสามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง
แต่ไม่เกินคันละ 36,000 บาทต่อเดือน
ตามมาตรา 65 ตรี (20) แห่งประมวลรัษฎากร
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง/แก๊ส
ที่ใช้เพื่อกิจการสามารถนำมาลงเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณภาษีอากร
ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13)
บริษัทฯ ไม่ต้องจัดทำหลักฐานการเดินทาง ตามแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรเช่น มีระเบียบอนุญาตในการเบิกจ่าย มีหนังสืออนุญาตพร้อมบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องานเรื่องใด จากที่ใดถึงที่ใด ระยะเวลาเท่าใด ทะเบียนรถยนต์ และบิลค่าน้ำมันระบุชื่อ เจ้าของรถยนต์ ทะเบียนรถยนต์
บริษัทฯ ไม่ต้องจัดทำหลักฐานการเดินทาง ตามแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรเช่น มีระเบียบอนุญาตในการเบิกจ่าย มีหนังสืออนุญาตพร้อมบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องานเรื่องใด จากที่ใดถึงที่ใด ระยะเวลาเท่าใด ทะเบียนรถยนต์ และบิลค่าน้ำมันระบุชื่อ เจ้าของรถยนต์ ทะเบียนรถยนต์
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ
กรณีสัญญาเช่าระบุให้ผู้เช่ารถเป็นผู้รับภาระจ่าย
เช่น ค่าบำรุงรักษา ค่าเบี้ยประกันภัย
ค่าใช้จ่ายในการต่อทะเบียน สามารถนำมาลงเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณภาษีอากรไม่ต้องห้ามตามมาตรา
65 ตรี (13)
ภาษีซื้อที่เกิดการเช่ารถทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
เช่น รถเก๋ง ไม่สามารถนำมาเครดิตภาษีได้
ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม แต่สามารถนำมาลงเป็นรายจ่ายของกิจการได้
ภาษีซื้อที่เกิดการเช่ารถทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งเกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
เช่น รถตุ้ รถกระบะ รถมอเตอร์ไซต์ รถบรรทุก
ภาษีซื้อสำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ รถเช่า
นำมาเครดิตภาษีได้หากสาระสำคัญถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปจะต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(มาตรา 86/4)
(1) คำว่า "ใบกำกับภาษี"
(5) หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีและหมายเลขลำดับของเล่ม
(ถ้ามี)
(6) วัน
เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
(7) ชื่อ
ชนิด ประเภท ปริมาณและมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
(8) จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง
* หมายเหตุ ใบกำกับภาษี/ใบเสร็จ
ค่าน้ำมัน ต้องระบุชื่อบริษัท ที่อยู่ เลขทะเบียนรถยต์
ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา
กรณีผู้ให้เช่ารถต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เป็นรายได้พึงประเมินมาตรา 40 (5) ค่าเช่า โดยต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.94 ยื่นครึ่งปีสำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินประเภท 5,6,7,
และ 8 กำหนดเวลาการยื่น กรกฏาคม -
กันยายน ของปีภาษีนั้น
ยานพาหนะ ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่าให้หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 30 ในกรณี
ให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม
หรือผู้ให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี
ขอบคุณข้อมูลจาก rukaccounting.com
และติดตามเรื่องราวดีดีของเราต่อได้ที่ http://www.qualityrentacar.com
ขอบคุณข้อมูลจาก rukaccounting.com
และติดตามเรื่องราวดีดีของเราต่อได้ที่ http://www.qualityrentacar.com
ค่าเช่า 10,000 บาท * 5% ทำไมถึงได้ 800 บาทคะ? ( 10,000 *5% = 500 ไม่ใช่เหรอคะ? )
ตอบลบค่าเช่า 10,000 บาท * 5% ทำไมถึงได้ 800 บาทคะ? ( 10,000 *5% = 500 ไม่ใช่เหรอคะ? )
ตอบลบ